RSS


 
บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ 2557
กลุ่มเรียน 101 (วันพุธเช้า) เวลา 08.30 -12.20 น.


                          การเรียนในวันนี้

                     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับ

                เด็กปฐมวัยของแต่ละกลุ่ม ... และกลุ่มของดิฉันก็ได้ทำสื่อ ชื่อว่า..บันไดงู

               มหาสนุก

                                                              ชื่อสื่อ..บันไดงูมหาสนุก


                                           


                         วิธีการเล่น

1. เกมนี้ผู้เล่นจะต้องเลือกตัวเดินคนละ 1 ตัว 

2. ให้ผู้เล่นแต่ละคนทอยลูกเต๋า คนละ 1 ครั้ง แล้วให้ผู้เล่นเดินตามจำนวน

แต้มของลูกเต๋าที่ทอยได้ จากนั้นให้ผู้เล่นคนถัดไปทอยลูกเต๋าและเล่นไป

เรื่อยๆ
 
3. ระหว่างที่เดินบนช่องทางในบางช่อง ก็จะมีคำสั่งต่างๆให้ผู้เล่นปฏิบัติตาม 

ได้แก่ วันนี้ดวงดีได้เดินไปข้างหน้าอีก 1 ช่อง หยุดเล่น 1 ครั้ง และ มีการนำ

คณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในเกมนี้ คือ สมมติว่า ผู้เล่นทอยลูกเต๋าได้ ได้

แต้มเลข 3 ก็จะต้อง บอกผลลัพท์ ของจำนวน 3+3 เท่ากับเท่าไหร่ และเมื่อผู้

เล่นตอบได้ก็จะได้เดินไปที่ช่องจำนวนของผลลัพท์นั้น หรือ บอกผลลัพท์ของ  
จำนวน 5- 2 ก็จะเท่ากับ3 ผู้เล่นก็จะต้องถอยกลับมา 3 ช่องนั่นเอง

4. ถ้าตัวเดินของคนใดเดินทางถึงเส้นชัยก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะ

นำสื่อไปให้เด็กๆลองเล่น
                           





       





         
 เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร

สำหรับสื่อชิ้นนี้ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการเล่น และใน

แต่ละครั้งที่เด็กๆโยนลูกเต๋าเขาก็จะตื่นเต้นและคอยลุ้นว่าจะได้จำนวนแต้มเท่าใด
เด็กได้ทักษะอะไรบ้าง 

- สำหรับสื่อชิ้นนี้ ที่เด็กจะได้ทักษะที่เห็นชัดที่สุดคือ การนับจำนวนตัวเลข ใน

การเดินแต่ละครั้ง - ได้ทักษะทางด้าน การบวก ลบ เลข และบอกผลลัพท์ของจำนวนได้ - เด็กได้ทักษะทางด้านการสังเกต ว่าต้องเดินไปตามทิศทางใด - เด็กได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ในด้านความน่าจะเป็น ปัญหาที่พบเห็น 
- ในบางครั้งเด็กสับสนในการเดินของแต่ละช่อง - เมื่อเด็กเดินไปเจอช่องที่มี จำนวน บวกลบมากเกินไป เด็กก็ไม่สามารถตอบ

ผลลัพท์ได้ 
สรุป (เหมาะสมกับเด็กหรือไม่) 
สื่อชิ้นนี้เหมาะสมกับเด็กที่มีช่วงอายุ 5-6 ปี ขึ้นไป เพราะในสื่อชิ้นนี้มีจำนวน  
ตัวเลขที่มาบวกลบนั้น ทำให้เด็กอายุ ประมาณต่ำกว่า 5 ปี ไม่สามารถบอกคำตอบ

ของผลลัพท์นั้นได้


                                                   ผลงานของกลุ่ม                          


                                                         สื่อของกลุ่มเพื่อนๆ


                                                


                                           

                                       

                                           
                                               

                                             
                                              



                                             




     ความรู้ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม


                -   จากการที่ได้ทำสื่อและเห็นสื่อของเพื่อนๆความรู้ที่ได้รับ คือ สามารถนำสื่อ        
               ที่เห็นจากการทำของเพื่อนก็ทำให้เราสามารถนำความคิดนำไปสอนเด็ก 

              และจัดกิกรรมและจัดทำสื่อให้เด็กเล่นได้และเด็กยังได้จินตนาการและความ

              คิดสร้างสรรค์และได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของคณิตศาสตร์


                               

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น